เคล็ดไม่ลับ! ถมดินอย่างไร ไม่ทรุด ถมให้แน่น หมดปัญหาเรื่องดินทรุด

ถมดินอย่างไร ไม่ทรุด

ไม่ว่าจะเป็นการ ถมที่ดิน ขนาดใหญ่ ถมดินรอบบ้าน ปรับระดับ ถมดินสร้างสิ่งปลูกสร้าง บ้าน หมู่บ้านจัดสรร หรือโรงงาน มักจะเกิดการทรุดตัวเป็นโพรงใต้บ้านเสมอ เพราะว่าการถมดินที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาในภายหลังได้เช่นกัน อาทิเช่น ดินทรุด, ดินสไลด์ วันนี้เราจะมาแนะนำทั้งเทคนิคการ ถมดินอย่างไร ไม่ทรุด บดอัดดินให้แน่นพอดี สำหรับผู้รับเหมาและวิธีการตรวจเช็คของเจ้าของบ้านจะได้หมดปัญหาเรื่องดินทรุด สุดท้ายแล้วเมื่อเวลาผ่านไปหลายปีก็ยังจะมีโอกาสที่ดินจะติดทรุดอยู่ดี แต่เคล็ดลับเหล่านี้ที่จะมาพูดถึงจะช่วยชะลอระยะเวลาการทรุดตัวของดินได้

3 ขั้นตอนง่ายๆ ถมดินอย่างไร ไม่ทรุด ถมดินแน่น ทรุดน้อย เอาไว้เช็คผู้รับเหมา

1.เลือกใช้ดินให้เหมาะสม

เลือกใช้ดินให้เหมาะสม

ผู้รับเหมาจะต้องมีการสำรวจพื้นที่อย่างละเอียดก่อนเป็นขั้นตอนแรก จากนั้นจะมีการแนะนำชนิดของดินถมให้เจ้าของที่ดินอย่างเชี่ยวชาญตามความเหมาะสมตามจริง เนื่องจาก ชนิดของดิน แต่ละประเภทนั้นมีลักษณะ ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป จึงมีผลต่อการบดอัด การทรุดตัว รวมไปถึงความพร้อมใช้งานของพื้นที่นั้นๆ ด้วย จึงต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างสูง โดยปัจจัยที่ผู้รับเหมาจะมีการตรวจสอบตอนสำรวจพื้นที่ มีดังนี้

  • ลักษณะพื้นที่บริเวณที่ต้องการถมที่ และใกล้เคียงโดยรอบ
  • ระดับน้ำใต้ดินในพื้นที่ (ในบางกรณี)
  • ความหนาแน่นของดินในพื้นที่
  • โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยรอบ เช่น ท่อระบายน้ำ ท่อประปา ถนน เป็นต้น
  • วัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง

2.บดอัดดินให้แน่นทีละชั้น

บดอัดดินให้แน่นทีละชั้น

เมื่อเริ่มดำเนินการถมดิน ให้ถมดินทีละชั้น ชั้นละไม่เกิน 30 ซม. อันดับแรกให้กระจายดินให้ทั่วพื้นที่ก่อนแล้วบดอัดให้แน่น จึงจะเริ่มถมชั้นต่อไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้วนไป “เกลี่ยดิน-ปรับระดับ-บดอัดให้แน่น” จนถึงระดับความสูงพื้นที่จะถมตามความต้องการ วิธีการนี้จะทำให้ดินถมแน่น ทรุดตัวน้อยแน่นอน และใครต้องการลดระยะเวลาให้รวดเร็วขึ้น เราแนะนำว่าให้ใช้รถบดอัดดินเข้ามาช่วยกลิ้งแทนได้

3.ถมดินเสร็จ ให้รดน้ำชุ่มๆ หรือรอฝนตก

ถมดินเสร็จ ให้รดน้ำชุ่มๆ หรือรอฝนตก

หลังจากเราบดอัดดินแต่ละชั้นจนได้ระดับที่ต้องการแล้ว ให้รดน้ำใส่ดินให้ชุ่ม หรือให้รอฝนตกลงมาสัก 2-3 รอบก่อนก็ได้ หรือถ้าได้ทั้งสองเลยก็จะยิ่งดี เพื่อที่จะทิ้งระยะเวลาให้หน้าดินเซ็ทตัวและให้ดินยุบตัวลงไปเกาะกันหนาแน่นมากขึ้น จากนั้นอยากเพิ่งรีบสร้างสิ่งปลูกสร้างนะ ให้ปล่อยสัก 6-12 เดือน (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่ว่าปกติแล้วพื้นที่น้ำท่วมนานไหม, น้ำท่วมแห้งไวไหม, น้ำท่วมขังบ่อยหรือไม่, ฝนตกบ่อยไหม) แล้วก็ให้ดูระดับพื้นที่ถนนกับพื้นที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงประกอบกันด้วย

“กำแพงกันดิน” ช่วยแก้ปัญหาดินทรุด ดินสไลด์ได้จริงเหรอ?

กำแพงกันดิน (Retaining Wall) คือ กำแพงที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกันดินสไลด์ ดินถล่มโดยเฉพาะ แต่ต้องมีการคำนวณ และติดตั้งอย่างถูกต้องตามมาตรฐานด้วย มิเช่นนั้น อาจเกิดเหตุการล้มคว่ำ แตกหัก หรือลื่นไถลตามการเคลื่อนที่ของดินได้ อธิบายสั้นๆ แค่นี้น่าจะเข้าใจแล้วว่า “กำแพงกันดิน กันดินทรุดได้ไหม?”

กำแพงกันดิน มีกี่ประเภท และใช้งานอย่างไร

กำแพงกันดิน มีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้

  1. Gravity Wall – เป็นกำแพงกันดินแบบดั้งเดิม หรือกำแพงหินตามชายหาดที่เราเห็นกัน ใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักเป็นหลัก จะเน้นความใหญ่ มักจะใช้กับกำแพงขนาดใหญ่ที่สูงตั้งแต่ 1-5 เมตร 
  2. Cantilever Wall – จะลักษณะคล้ายกัน Gravity Wall แต่จะเพิ่มคานด้านล่างเข้ามา เพื่อรับแรงต้านได้ดีขึ้น มักจะใช้กับกำแพงที่สูงตั้งแต่ 2-10 เมตร
  3. Pilling Wall – เพิ่มการตอกเสาเข็มลงดิน แต่ปัจจุบันนำ Sheet Pile Steel มาใช้แทน เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่น้อย แต่มีข้อเสียคือราคาแพง
  4. Anchored Wall – เป็นกำแพงกันดินแบบพิเศษ เพิ่มสมอยึดกับด้านข้างกำแพง เพื่อเพิ่มแรงต้านป้องกันกำแพงล้ม

สนใจสอบถามราคาถมที่ดิน โทร 095-736-4596

ข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้ที่ต้องการถมที่ดินในพื้นที่ตัวเองต้องรู้เอาไว้ค่อยตรวจสอบผู้รับเหมา เพราะถ้าเรายังไม่เข้าใจว่า ถมดินอย่างไร ไม่ทรุด ไม่ให้ดินสไลด์ในอนาคตอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ และถ้าพื้นที่ต้องการถมสูงต่างระดับพื้นที่ใกล้เคียง แนะนำให้ทำกำแพงกันดินก่อน เพื่อไม่ให้ดินไหล หากสนใจถมที่ดิน ถมเป็นเที่ยวหรือเหมางาน ถมที่ 1 ไร่, 1 งาน งานเล็กหรืองานใหญ่ ติดต่อโทรถามได้ 095-736-4596